วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สะอาดเพื่อการบริโภคอุปโภคเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งยวดต่อชีวิตและสุขภาพที่ดีของมนุษย์รวมไปถึงการดำรงชีวิตประจำวันในด้านต่างๆ แหล่งน้ำ ส่วนใหญ่เป็นน้ำใต้ดิน รองลงไปยังคงเป็นบ่อน้ำตื้น สถานการณ์คุณภาพน้ำบริโภคในเขตชนบท ปัญหาที่สำคัญเป็นปัญหาการปนเปื้อนของแบคทีเรียกลุ่มฟิคอลโคลิฟอร์มสูงโดยพบปัญหาร้อยละ 14 - 45 ของจำนวนตัวอย่างทั้งหมดซึ่งทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสภาวะการแพร่กระจายของโรคทางเดินอาหาร อาทิเช่น อุจจาระร่วง อหิวาตกโรคบิด ไทฟอยด์ เป็นต้น ส่วนปัญหาทางเคมีและภายภาพประกอบด้วย ปัญหาเหล็ก ความกระด้าง น้ำเค็ม (คลอไรด์)และไนเตรท บางแห่งพบฟลูออไรด์สูง บางแห่งมีน้ำเค็มปะปน เป็นต้น น้ำจากบ่อน้ำตื้นมีการปนเปื้อนด้วยแบคทีเรียสูงกว่าแหล่งน้ำใต้ดินและน้ำฝน แหล่งน้ำที่นำมาผลิตน้ำประปาหมู่บ้านนั้นได้มาจาก แม่น้ำ ลำคลองอ่างเก็บน้ำ หนอง บึง และน้ำนั้นจะต้องไม่มีสี ไม่มีกลิ่นไม่มีรสเกินกว่าที่กำหนดไว้ และปราศจากสิ่งโสโครกปะปนมีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการซึ่งมีวิธีทำให้น้ำใสสะอาดได้ดังนี้โดยทั่วไปแล้วการปรับปรุงคุณภาพน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคมีวิธีการปรับปรุงคุณภาพของน้ำดิบให้มีคุณภาพดีตามความต้องการได้หลายวิธี1.การตกตะกอนจมตัว การตกตะกอนจมตัวเป็นการเก็บกักน้ำไว้ในคลองหรืออ่างเก็บน้ำ โดยอาศัยธรรมชาติเพื่อให้น้ำได้เกิดการฟอกตัวเองโดยธรรมชาติ2.การกรองด้วยตะแกรง การกรองด้วยตะแกรงเพื่อสกัดของแข็งที่มีขนาดใหญ่จนถึงขนาดเล็กขึ้นอยู่กับขนาดรูของตะแกรงจึงอาจแบ่งชนิดของตะแกรงอย่างกว้าง ๆเป็น 2 แบบ คือ ตะแกรงหยาบและตะแกรงละเอียด
3.การสร้างตะกอน การรวมตะกอนและการตกตะกอน
3.1 การสร้างตะกอน เป็นกระบวนการเติมสารเคมีซึ่งเรียกสารสร้างตะกอนลงไปในน้ำซึ่งมีของแข็งขนาดเล็กฟุ้งกระจายอยู่
3.2 การรวมตะกอนและตกตะกอน เป็นกระบวนการรวมตัวของของแข็งที่มีขนาดเล็ก โดยมีสารเคมีเป็นศูนย์กลางทำให้อนุภาคมีขนาดโตพอที่จะตกตะกอนได้ง่ายเรียกตะกอนที่รวมตัวกันมีขนาดโตพอที่จะตกตะกอนได้ง่ายว่าฟล็อก ( Floc ) การตกตะกอนเพื่อลดปริมาณความขุ่นในน้ำ (ซึ่งควรมีความขุ่นไม่เกิน 10 พีพีเอ็ม)ก่อนเข้าเครื่องกรองน้ำ-การใช้สารส้มในการสร้างตะกอน การใช้สารส้มในการสร้างตะกอนและรวมตะกอนควรให้มีพีเอชของน้ำอยู่ในช่วง 6.0-7.8 และที่พีเอชเท่าใดจึงจะให้ผลสูงสุดขึ้นกับสภาพน้ำซึ่งต้องทดสอบจึงจะทราบแน่ชัด ถ้าน้ำมีสภาพค่อนข้างเป็นด่าง สารส้มจะแตกตัวเกิดเป็นอะลูมิเนตอิออนที่ละลายน้ำได้จึงไม่ช่วยในการจับตัวเป็นฟล็อก-การทำลายเชื้อโรคด้วยคลอรีน การเติมคลอรีนเป็นการใส่คลอรีนหรือสารประกอบคลอรีนลงในน้ำเพื่อทำลายเชื้อโรค และยังช่วยลดเหตุรำคาญ อันเนื่องจากจุลินทรีย์และยังอาจช่วยออกซิไดส์เหล็กแมงกานีสในน้ำ รวมถึงสารที่ทำให้เกิดกลิ่นและรสชาติในน้ำได้อีกด้วยวิธีและขั้นตอนการผลิตน้ำประปาการประปาเป็นวิธีทำน้ำให้สะอาด หลักการทำน้ำประปา นั้นก็เพื่อให้ได้น้ำสะอาดปลอดภัยมีปริมาณเพียงพอและจ่ายให้ได้ทั่วถึง โดยนำน้ำจากแหล่งน้ำผิวดินหรือน้ำบาดาลเป็นแหล่งน้ำดิบก็ได้น้ำประปาหมู่บ้าน
1. การสูบน้ำดิบ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อสูบน้ำดิบส่งเข้าไปสู่โรงกรองน้ำ
2. การกรองน้ำ เมื่อน้ำดิบถูกส่งมายังโรงกรองน้ำจะผ่านที่ผสมสารส้มและปูนขาว เพื่อให้สิ่งสกปรกที่ปะปนหรือผสมอยู่ในน้ำนั้นเกิดรวมตัวเป็นตะกอนขนาดโตขึ้นมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นและตกตะกอน และสูบน้ำที่กรองแล้วในถังน้ำใสขึ้นหอถังสูงจ่ายน้ำให้กับประชาชน
3.การจ่ายน้ำ น้ำจากถังน้ำใสจะถูกสูบ ขึ้นหอถังสูงหอถังสูงจะทำหน้าที่เสมือนที่เก็บน้ำ และจ่ายน้ำไปตามเส้นท่อภายใต้แรงดันดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ลิงค์ด้านล่างครับ
ที่มา:
http://www.dmsc.moph.go.th/webroot/SamutSongkhram/journal/9_other.pdfhttp://www.pwa.co.th/service/treatment.htmlhttp://www.pwa.co.th/webboard/cgi-bin/wbread.php?acc=2405http://www.sut.ac.th/e-texts/Medicine/behs/lesson2/lesson2-3.html